ส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม Microsoft Dynamics 365 Business Central (BC)

Spread the love

หลังจาก blog ที่ได้แนะนำวิธีการดาวน์โหลด และติดตั้งโปรแกรม Microsoft Dynamics 365 Business Central กันไปแล้ว ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมก็เข้าไปที่ link นี้ได้เลย

ภายในตัวโปรแกรม Microsoft Dynamics 365 Business Central นั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ต่อไปนี้

1. Client

เป็นส่วนหลักที่ User ใช้งานตัวโปรแกรม ซึ่งทาง Microsoft Dynamics 365 BC นั้นมี Client ให้ใช้งาน 2 อย่างคือ RTC Cilent และ Web Cient

RTC (Role Tailored Client)

แน่นอนว่าใน version Dynamics 365 BC – on Premise นั้นยังคงมี RTC Client แบบ version ก่อน ๆ ให้ใช้กันอยู่ แต่มีข่าวว่าอีกไม่นานทาง Microsoft จะตัดส่วนนี้ออก ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดออกแน่ ๆ เมื่อไหร่ แต่ถ้าเป็นไปได้หากคุณเป็น Consult MS Dynamics 365 BC ก็ขอให้คุณแนะนำการใช้งานบน Web Client ให้กับ user ของคุณจะดีกว่า

RTC - Microsoft Dynamics 365 Business Central

Web Client

ตัว Web Client นั้นเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในยุคปัจจุบัน และอนาคตนี้ เพราะทาง Microsoft จะเน้นพัฒนา Platform ของตัว Web Client แทนที่ RTC ตัวเดิมซึ่งอาจจะถูกตัดทิ้งในไม่ช้า ซึ่งแน่นอนว่า Web Client บน MS Dynamics 365 BC นั้นจะเก่งกว่า และมีความเป็น User-Friendly มากกว่า ของ NAV เวอร์ชั่นเก่า ๆ อย่างแน่นอน

Web Client - Microsoft Dynamics 365 Business Central

2. Development Environment

ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ทาง Consult และ Implementer จะเข้ามาใช้งานบ่อย แน่นอนว่า MS Dynamics 365 BC – on premise ยังมีตัว Development Environment ให้ใช้งานอยู่ แต่การ implement บน Dynamics 365 BC นั้นจะไม่เหมือนกับตอนทำบน Microsoft Dynamics NAV 2013/2015/2016/2017/2018 หรือ version อื่น ๆ แล้ว

เพราะการ coding จะเป็นการสร้าง Extension (บนโปรแกรม Visual Studio Code ซึ่งผมจะอธิบายในคราวหน้า) และการ Implement นั้นจะใช้งาน Event ต่าง ๆ ที่ทาง Microsoft ได้เตรียมไว้ให้แทน

แน่นอนว่าคุณเข้าไปเปิด object เขียน code แทรกเข้าไปแบบเดิมไม่ได้แล้ว ซึ่งทาง Developer ที่ชินกับการทำงานแบบเดิม ๆ ต้องปรับตัวกันพอสมควรเลยทีเดียว แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเพราะการ upgrade และการทำงานบน cloud จะทำได้ง่ายขึ้นแน่นอน

Developement Environment - Microsoft Dynamics 365 Business Central

3. Service Console

ในส่วนของ Service console นั้นจะยังถูกใช้งานอยู่ถ้ายังใช้งานโปรแกรม Microsoft Dynamics 365 Business Central แบบ on-premise อยู่ ซึ่งตัว service นี้ใช้งานสำหรับ config ค่าต่าง ๆ สำหรับการใช้งาน และยังเป็นตัวกลางระหว่าง database และ client อีกด้วย

Service control - Microsoft Dynamics 365 Business Central

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณคือ Developer ของโปรแกรม Microsoft Dynamics 365 BC จะมีอีก 2 ส่วนที่คุณได้จะใช้งานบ่อย ๆ คือ โปรแกรม Visual Stidio Code ซึ่งใช้ในการเขียน Extension ให้กับเจ้าตัวโปรแกรม Microsoft Dynamics 365 BC ในกรณีที่ต้องการทำ Customization ซึ่งเดี๋ยวผมจะเขียนอธิบายใน blog ต่อไป และหนึ่งโปรแกรมที่จะได้ใช้งานบ่อยขึ้นคือ Powershell ซึ่งจะเขียนใน blog ต่อไปเช่นกัน

ถึงตรงนี้ก็เช่นเคย ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่าน blog ถึงตรงนี้ และพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ สวัสดีครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *